เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เรื่องไม่ลับฉบับนักวิจัย รู้จักกล้วยไม้ป่า ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น


6 ก.ย. 2566, 18:23



เรื่องไม่ลับฉบับนักวิจัย รู้จักกล้วยไม้ป่า ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น




ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอแนะนำให้รู้จักกับกล้วยไม้ป่าอีกชนิดหนึ่งนั่นคือ "เอื้องขยุกขยุย"

"เอื้องขยุกขยุย"  Bulbophyllum dayanum Rchb.f.สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี ความสูงจากระดับน้ำทะเล 700 - 1,300 เมตรทเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปไข่ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เรียงห่างๆ ใบ รูปไข่ ยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร ปลายแหลมมน เว้าตื้น โคนรูปลิ่ม แผ่นใบหนา สีเขียวอมน้ำตาลม่วง ช่อดอก สั้น ออกจากเหง้า มี 2–5 ดอก ก้านดอกหนา ยาว 1.5–2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง สีเขียวอมน้ำตาลแดงหรือม่วง ขอบมีขนครุยสีเหลือง ยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงขนาดเท่าๆ กัน รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอก รูปขอบขนาน แคบและสั้นกว่ากลีบเลี้ยง สีเข้มกว่า ยาว 0.7–1 เซนติเมตร กลีบปาก รูปรี ยาวเท่าๆ กลีบดอก สีอ่อนกว่า ขอบจักซี่ฟันตื้นๆ มีติ่งที่โคน โค้งงอ แผ่นกลีบมีปุ่มกระจาย มีสันยาว 2 สัน เส้าเกสรสีเหลือง

พบที่พม่า และกัมพูชา ใน ไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือที่พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ตราด และภาคใต้ที่ระนอง กระบี่ ขึ้นตามต้นไม้ในป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูง 500–1,300 เมตรช่วงเวลาในการออกดอก ธันวาคม - มีนาคม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ      
         จังหวัดสุราษฎร์ธานี





คำที่เกี่ยวข้อง : #กล้วยไม้ป่า  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.