เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ธปท.เร่งออกแนวทางแก้ไขปัญหาตัดวงจรหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน


3 ก.ค. 2566, 16:16



ธปท.เร่งออกแนวทางแก้ไขปัญหาตัดวงจรหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน




วันนี้ ( 3 ก.ค.66 ) นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.6 ต่อ GDP

ขณะที่จำนวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน จากผลกระทบโควิด-19 (ลูกหนี้รหัส 21) ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุด เมื่อเดือนตุลาคม 2565 จาก 4.7 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 410,000 ล้านบาท อยู่ที่ 4.4 ล้านบัญชี ยอดหนี้ลดลงอยู่ที่ 310,000 ล้าบาท ทั้งนี้หนี้ครัวเรือนทั้งหมดไม่น่ากังวลหากนำไปใช้เพื่อสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ แม้หนี้ครัวเรือนทั้งหมดหรือประมาณร้อยละ 30 ของหนี้ครัวเรือนไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. แต่ก็มียังความกังวลในกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และส่วนบุคคล อาจทำให้ระยะต่อไป NPL หรือหนี้เสีย ทยอยปรับขึ้นจากกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยที่ แต่จะไม่เกิด NPL Cliff (หน้าผาหนี้) เนื่องจากยังอยู่ในระดับที่สถาบันการเงินบริหารจัดการได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Rating agencies และระบบธนาคารพาณิชย์ มีความมั่นคงสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธปท. ติดตามสถานการณ์อย่างใกลัชิดและผลักดันการดำเนินการตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวกับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อให้เจ้าหนี้ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถฟื้นตัวกลับมาได้

ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ยังกล่าวถึงรูปแบบของหนี้ที่ต้องเร่งแก้ไข มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ หนี้เสียที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคล หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรังยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่ปิดจบไม่ได้ เช่น กู้หนี้ใหม่ไม่จ่ายหนี้เก่า จ่ายขั้นต่ำบัตรกดเงินสด เป็นต้น หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็นหนี้เสียหรือเรื้อรังในอนาคต เช่น หนี้ภาคเกษตร หนี้ส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ ซึ่งอาจทำให้เป็นหนี้ในระบบมีปัญหาไปด้วย

ธปท.เร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ที่ต้องทำอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน แนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ไหม่ที่มีคุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงการเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ส่วนรายละเอียดของแต่ละแนวทางในการแก้ไขหนี้ครัวเรือนจะเห็นความชัดเจนช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้หนี้ในภาพรวมลดลงต่ำกว่าร้อยละ 80 ครัวเรือนมีความเป็นอยู่และสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.