เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อบต.เมืองลีง จัดพิธีสมโภชน์อนุสาวรีย์เชียงสง ผู้ก่อตั้งชุมชนหมู่บ้านเมืองลีง มีอายุกว่า 300 ปี


5 ก.พ. 2566, 10:23



อบต.เมืองลีง จัดพิธีสมโภชน์อนุสาวรีย์เชียงสง ผู้ก่อตั้งชุมชนหมู่บ้านเมืองลีง มีอายุกว่า 300 ปี




ผู้สื่อข่าว ONB รายงานว่า อบต.เมืองลี จัดพิธีโภชอนุสาวรีย์เชียงสง ผู้ก่อตั้งชุมชนหมู่บ้านเมืองลีง มีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว สืบสานประเพณีอันดีงามสืบทอดมายาวนาน
 

วันนี้(4 ก.พ.66) ที่บ้านเมืองลีง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นายสรสาสน์ สีเพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี ได้ประกอบพิธี พิธีสมโภชอนุสาวรีย์เชียงสง ผู้ก่อตั้งชุมชนหมู่บ้านเมืองลีง มีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว และงานประเพณีสืบสานตํานานศาลเจ้าพ่อเซียงสง เป็นการบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

บรรยากาศภายในงานมีนักท่องเที่ยวและประชาชนมากกว่า 1,000 คน เที่ยวชมการรำบวงสรวงที่สวยสดงดงาม 5 ชนเผ่าที่อยู่ร่วมกันในหมู่บ้านเดียวกันอย่างสงบสุข ได้แก่ ไทย เขมร ส่วย ลาว จีน ในการรำบวงสรวงครั้งนี้ มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้สูงอายุและเด็ก และชาวบ้านได้รวมตัวกันนำเครื่องเส้นต่างๆเช่นหัวหมูไข่ดอกไม้บายศรีต่างๆเพื่อนำมาบวงสรวงขอโชคขอลาภหรือขอพรต่างๆจากเจ้าพ่อเชียงสง

 

ไฮไลท์ที่สำคัญก็คือหลังจากที่มีการรำบวงสรวงเสร็จ พราหมณ์ประกอบพิธี ได้จุดธูปตัวเลข ทำให้ชาวบ้านได้ไปมุ่งดูธูปที่พราหมณ์ประกอบพิธีได้จุด เพื่อเสี่ยงทายตัวเลขในงวดครั้งต่อไป เพราะทุกครั้งที่ชาวบ้านได้ขอพรหรือขอโชคลาภ ไม่ว่าจะด้านใดก็จะสมประสบความสำเร็จเกือบทุกรายไป ยิ่งพิธีใหญ่เช่นนี้ ทำให้เป็นที่สนใจของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่ไปมุงดูตัวเลข ซึ่งในการจุดครั้งนี้ได้แก่หมายเลข 545 ชาวบ้านจึงได้เอาโทรศัพท์ถ่ายรูปแล้วไปซื้อลอตเตอรี่ที่ขายอยู่บริเวณงาน พร้อมกับโทรบอกญาติที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ

 




นายประเสริฐ สุขจิต นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองลีง ได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานใน ครั้งนี้ เพื่อเป็นการเชิดชูวีรบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองลีง และเป็นการแนะนําแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่ตําบลเมืองลีง ที่มีอยู่ ให้เป็นที่รู้จักกับสาธารณชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป เพื่อที่จะทําการพัฒนาส่งเสริมให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของจังหวัดสุรินทร์ต่อไป ถือว่าเป็นวันกตัญญูเพื่อรำลึกถึงเจ้าพ่อเชียงสง

 



ซึ่งในพงศาวดารอีสาน จารึกไว้ว่า “เขียงสง” นั้น หลังจากมีการจับช้างเผือกได้ และนําไปถวาย พระเจ้าอยู่หัวแล้ว สหายทุกคนล้วนได้รับฐานันดรศักดิ์ทุกคน มีเพียงเซียงสูงเท่านั้นที่ไม่มีฐานันดรศักดิ์ ยังคงอยู่กับชาวบ้านโดยการใช้ชีวิตอย่างสมถะ ตําบลเมืองลีง เป็นพื้นที่ดั้งเดิมของขอมที่ถูกปล่อยทิ้ง ร้าง อันเป็นที่มาของชื่อ “เมืองลีง “ ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาเขมร ซึ่งออกเสียงว่า “ เมืองเลง “ หมายถึงเมืองที่ปล่อยหรือเมืองร้างนั่นเอง ต่อมามีชาวกวย ซึ่งอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป แขวง จําปาศักดิ์ ซึ่งอดีตเคยเป็นอาณาเขตของประเทศไทย มาก่อน ชาวกวยนั้นได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มชน ที่มี ความชํานาญในการจับช้างป่า มาเลี้ยงไว้ใช้งาน ได้มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านเมืองถึง และต่อมาในสมัย อยุธยา ช้างเผือกคู่พระบารมีของสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ได้แตกโรงจากอยุธยา และครั้งนั้นเองที่ ทําให้เกิดเหตุการณ์ที่นําไปสู่ การรวมตัวของสหายร่วมทางในการตามจับช้างเผือกกลับไปถวาย พระ เจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย ตากะจะ เชียงขัน เชียงฆะ เชียงปุ่ม เชียงลี เชียงไชย และ เชียงสง ด้วยคุณูปการของเซียงสงที่มีต่อลูกหลานชาวตําบลเมืองลีง องค์การบริหารส่วนตําบลเมืองลีง จึงมีดําริร่วมกันกับชุมชนเห็นควรให้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์เชียงสูงขึ้น เพื่อเป็นการเชิดชูบรรพชนผู้ก่อ บ้านแปงเมืองให้ลูกหลานได้มีที่อยู่อาศัยทํากินจากอดีตจวบจนปัจจุบันด้วยความสุขสงบ

 



คำที่เกี่ยวข้อง : #สุรินทร์  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.