วันที่ 24 ก.ย. 62 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายนนวัธ เตาะเจริญสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย เขต 7 จังหวัดขอนแก่น ได้มาตามนัดศาลจังหวัด ขอนแก่น คดีดำเลขที่ อ.929/61 โดยมีอัยการจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้ฟ้อง เพื่อรับฟังคำพิพากษา(ประกันตัว) เรื่อง จ้างวานฆ่านายสุชาติ โคตรทุม อดีตปลัด องจ.ขอนแก่น ที่บัลลังก์ 7
หลังจากก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้นได้ให้ประกันตัวนายนวัธไป โดยเมื่อนายนวัธเดินทางมาถึง ได้เดินไปขึ้นห้องพิจารณาคดีบัลลังก์ที่ 7 ทันที จากนั้นศาลได้อ่านคำตัดสินเป็นเวลาประมาณ 40 นาที ก่อนที่จะมีคำตัดสินในศาลชั้นต้น ให้ลงโทษประหารชีวิตนายนวัธ เตาะเจริญสุข
พล.ต.ต.ไพโรจน์ กุจิรพันธ์ ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนภาค 4 กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 56 ซึ่งขณะนั้นตนเองกำลังดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น โดยก่อนหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับนายนวัธ ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายกลุ่มมือปืนได้ทั้งหมด หลังจากได้รับสารภาพว่านายนวัธ เป็นคนจ้างวานฆ่า จนกระทั่งศาลจังหวัดขอนแก่น ลงวันที่ 3 เมษายน 2561 ได้ออกหมายจับนายนวัธ เตาะเจริญสุข อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 8 ขอนแก่น(ในขณะนั้น) ในข้อหากระทำความผิดฐานจ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และในวันนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาโดยลงโทษประหารชีวิตนายนวัธ รวมทั้งชดใช้ค่าปลงศพ และค่าเลี้ยงดูบุตรของอดีตปลัด อบจ.ขอนแก่น เนื่องจากมีหลักฐานสำคัญต่างๆทั้งพยานบุคคลคือผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ที่สารภาพก่อนหน้านี้ รวมทั้งหลักฐานการโทรศัพท์ระหว่างนายนวัธกับผู้ต้องหาที่ร่วมกันก่อเหตุ หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงไดตัดสินออกมาในวันนี้
ก่อนหน้านี้ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาจำนวน 4 คน ที่ร่วมกันก่อเหตุได้คือ ดาบตำรวจวีระศักดิ์ ชำนาญผล จำเลยที่ 1 พันตำรวจโทสมจิตร แก้วพรม รอง ผกก.(ป) สภ.หนองเรือ จำเลยที่ 2 นายประพันธ์ ศรีพิลัย จำเลยที่ 3 นายบุญช่วย จูงกลาง จำเลยที่ 4 และ นายปิยะพงษ์ มีกำบัง จำเลยที่ 5 และ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ศาลอุทธรณ์ ภาค 4 ได้พิพากษาตัดสินประหารชีวิต จำเลยที่ 2 คือ พันตำรวจโทสมจิตร แก้วพรม ส่วนอีก 4 คน ศาลได้ตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการพิพากษาแก้จากศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 โดยคำพิพากษาระบุว่า พ.ต.ท.สมจิตร แก้วพรม จำเลยที่ 2 และนายประพันธ์ ศรีวิลัย จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยมิได้ไตร่ตรองไว้ก่อน ด้วยเหตุแห่งพฤติกรรมมีการลงไปพูดคุยและผลักผู้ตายเข้าไปในรถ ประกอบกับรถที่จอดขวางผู้ตายมิใช่ลักษณะเตรียมพร้อมจะหลบหนี จึงไม่น่าเป็นเรื่องที่ตั้งใจทำ เพราะถ้าเช่นนั้นก็ต้องมีการยิงเลย แต่มีการพูดคุย มีการทำร้ายร่างกายแล้วจึงลงมือยิง จึงพิพากษาจำเลยที่ 2 และ 3 มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นให้จำคุกตลอดชีวิต
แต่จำเลยที่ 3 ให้การเป็นประโยชน์เป็นเหตุให้บรรเทาโทษให้ 1 ใน 4 รวมกับความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน คงให้จำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิตสถานเดียว จำเลยที่ 3 รวมโทษจำคุก 37 ปี 14 เดือน 30 วัน ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 4 และ ที่ 5 ซึ่งให้การปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง และพยานหลักฐานไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 3 รู้มาก่อนว่าจำเลยที่ 2 และ 3 จะมาฆ่าผู้ตาย จึงให้ยกฟ้อง และจากนั้นจำเลยที่ 2 และ 3 ได้มีการอุทธรณ์เช่นเดียวกับฝ่ายผู้เสียหาย