กระทรวงยุติธรรม แถลงผลชันสูตร "แตงโม นิดา" รอบที่ 2 ยืนยันไม่พบถูกรัดคอ กระดูกไม่แตกหัก
31 มี.ค. 2565, 17:12
วันนี้ (31 มี.ค.65) มีรายงานว่าที่ที่กระทรวงยุติธรรม ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผศ.นพ.วรวีร์ ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ในฐานะประธานกรรมการผ่าพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ และญาติผู้เสียหายหรือตัวแทน แถลงข่าวผลการผ่าพิสูจน์ร่างนักแสดงสาว “แตงโม นิดา” รอบ 2
โดยการผ่าพิสูจน์ครั้งนี้ทำตามที่คุณแม่แตงโมได้ร้องขอมาครบทุกอย่าง แต่มีบางกรณีที่ไม่สามารถตอบได้ บางเรื่องเป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของพนง.สอบสวน บางเรื่องทางแพทย์ผ่าครั้งที่ 1 ได้ทำแล้ว ทางแพทย์ผ่าครั้งที่ 2 ได้มีการประชุมนั่งร่วมฟังว่าทำอย่างทุกต้องเรียบร้อยหรือไม่ การผ่าครั้งที่ 2 สภาพศพมีความเปลี่ยนแปลงไป แต่หลักๆ เรื่องที่เกี่ยวกับข้อกฏหมาย ไม่สามารถบอกได้กับสื่อ ทางทนายเป็นผู้ทราบผลดำเนินการต่างๆ
วันที่ 17 ได้ทำการผ่าตัดครั้งที่ 2 และวันนี้ผลต่างๆ ได้ออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยข้อร้องของแม่ที่มีทั้ง 11 ข้อทำมาได้ทั้งหมดแต่มีอยู่บางข้อที่ทำไม่ได้เพราะสภาพศพเปลี่ยนไป ปกติข้อมูลรายงานจะเป็นความลับ จะส่งให้ญาติผู้เกี่ยวข้อง วันนี้ขอชี้แจงได้ในบางประเด็น แต่ถ้าบางอันที่เป็นรายงานไม่สามารถเปิดเผยได้ การผ่าครั้งนี้ทำเพื่อตรวจสอบว่าครั้งแรกได้ขาดเช็คอะไรอีกหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี
สำหรับข้อเรียกร้องของแม่นั้น คือ 1.ศีรษะของผู้ตายเป็นอย่างไร จากการผ่าพิสูจน์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่พบบาดแผลใดๆ ทำให้ข้อสงสัยประเด็นดังกล่าวได้ชี้แจงด้านการผ่าพิสูจน์ บริเวณใบหน้าของ แตงโมมีสภาพการเปลี่ยนแปลงในครั้งแรก เรามีภาพในการลงพื้นที่ จ.นนทบุรี เนื่องจากเป็นเขตตรวจของนิติเวชวิทยา พนง.สอบสวนจะแจ้งให้เราไปครั้งแรก ภาพดังกล่าวได้ให้กับพนง.สอบสวนแล้ว ซึ่งญาติสามารถร้องขอมาได้ จะได้เห็นว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงของศพ จะเห็นได้ว่าภาพดังกล่าว ตอบคำถามได้ว่า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของศพ เป็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย
เรื่องลำคอที่สวมสร้อยอยู่ มีคนถามว่าถูกรัดหรือไม่ เวลาที่เจอแตงโมสร้อยคอหย่อนๆอยู่ แต่เมื่อนานไปเป็นการบวมของร่างกายที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกัน เมื่อตรวจพิสูจน์ ไม่พบการถูกรัดคอแต่อย่างใด ได้ตรวจเนื้อเยื่อ ว่าสิ่งที่เราเห็นเป็นบาดแผลจริงหรือไม่ เกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียชีวิต โดยผลดังกล่าวอยู่ในซอง, หน้าอก ใต้ลำคอ มีการเอาเนื้อเยื่อไปทำการตรวจ ผลอยู่ในเอกสาร , บาดแผลขา ที่เราได้นับได้ 22 บาดแผล จากที่นับ ส่วนที่ผ่าครั้งแรกเป็นอย่างไรไม่ทราบ รายละเอียดอยู่ในซอง , เล็บมือ ตอนที่มาถึงที่เรา มีการตัดไปตรวจแล้ว และเมื่อตรวจซ้ำ ว่ามีการต่อสู้ไหม ผลอยู่ในซอง , แผ่นหลังของผู้ตาย ไม่พบแผ่นหลังมีบาดแผล ได้พิสูจน์แล้ว จากการตรวจพิสูจน์ มองไม่เห็นบาดแผล ก็ได้ตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ , หลอดลมของผู้ตาย อยู่ในรายงานแพทย์
อวัยวะเพศของผู้เสียชีวิตได้ทำการตรวจสอลแล้ว สารคัดหลั่งต่างๆ ผลอยู่ในซอง เสื้อผ้าผู้ตายที่ใส่ในวันเสียชีวิต เสื้อผ้าที่เราเจอ ในการตรวจครั้งที่ 2 ไม่ได้ชุดเดียวกับที่สวมใส่วันที่เราเห็นภาพ มีการเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้ว นี่เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าพิสูจน์
รายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องของพนักงานสอบสวน เป็นเรื่องของตำรวจต่อไป เราแจ้งในส่วนของ 11 ข้อ ที่มีการยื่นคำร้งอมาเพื่อผ่าพิสูจน์ ต้องนำผลดังกล่าว ได้เอาที่พิสูจน์มาแล้ว ไปให้กับทนาย ญาติ พนักงานสอบสวน ว่ามีประโยชน์ต่อรูปคดีไหม เรามีการทำซีทีสแกน ทำโครงสร้างกระดูก ก็ไม่ได้มีแตกหัก หรือบิ่นใดๆ ก็มีการตรวจเพิ่มเติม หรือฟัน หักไปหรือหายไป ก็พบว่าครบถ้วนสมบูรณ์ ได้ทำซีทีสแกนแล้ว
ทั้งหมด กำลังจะบอกว่า สิ่งที่เราผ่าพิสูจน์ครั้งที่ 2 สิ่งที่เพิ่มเติมไป คือภาพถ่ายในที่เกิดเหตุ เป็นประโยชน์ของการสรุปของเจ้าหน้าที่ หรือบาดแผล 22 บาดแผล ก็นับได้ในการผ่าพิสูจน์ครั้งที่ 2 เรียนว่าสภาพศพนั้น การผ่าครั้งที่ 1 สภาพศพคือจมน้ำ แต่ยังไม่ฉีดฟอร์มาลีน แต่ครั้งที่ 2 ที่มาที่นี่ศพฉีดฟอร์มาลีนแล้ว ผลตรงนี้คุณหมอแจ้งว่าบางอย่างก็ตรวจได้ บางอย่างไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน เสื้อผ้าที่ถูกเปลี่ยนไป ก็ไม่เหมือนกัน สรุปคร่าวๆ แตกต่าง 4-5 ประเด็น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นรอยแผลที่เกิดขึ้นต้นขา ไม่สามารถตอบได้ว่าเปิดขึ้นจากอะไร เพราะเป็นการทำงานของพนง.สอบสวน การไปจำลองการเกิดบาดแผล นำใบพัดเรือ ไปเปรียบเทียบ เชื่อว่าพนักงานสอบสวนทำแน่นอน ส่วนเรื่องแอลกอฮอล์ในร่างผู้ตาย หากเราเสียชีวิต การขับแอลกอฮอล์จะไม่ถูกขับออกไป เพราะแอลฯ จะถูกขับออกทางลมหายใจ เราจะตรวจพบว่า กรณีการเสียชีวิต แอลกอฮอล์ที่ตรวจพบในศพ จะเป็นระดับเดียวกันกับก่อนเสียชีวิต แต่คนเป็น จะขับไปและตรวจไม่เจอ ถ้าจะตรวจแอลกอฮอล์ ณ ขณะนั้น และทิ้งไว้สักพัก จะทำให้ตรวจไม่พบ และการผ่าครั้งที่ 3 กฏหมายไม่ได้ห้าม ทำได้ แต่ทำแล้วต้องเกิดประโยชน์จากการดำเนินการด้วย