"ชลบุรี" พบผู้ติดเชื้อโควิดวันที่ 9 ตุลาคม 64 เพิ่มอีก 488 ราย เสียชีวิต 4 ราย !
9 ต.ค. 2564, 08:41
ล่าสุด (9 ตุลาคม 64) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ โดยข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) ณ เวลา 06.30 น.วันที่ 9 ตุลาคม 2564 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 488 ราย.
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 488 ราย
1. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ 9 ราย สะสม 1,207 ราย
1.1 กองนักเรียนจ่า นาวิกโยธิน 3 ราย
1.2 ข้าราชการทหารเรือ 3 ราย
1.3 ทหารเกณฑ์ 3 ราย
2. Cluster แคมป์คนงาน บริษัท ซี เอ แซด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) CAZ อำเภอพานทอง 7 ราย สะสม 36 ราย
3. Cluster แคมป์ก่อสร้าง บริษัท MRA (เขาคันธมาทน์) อำเภอสัตหีบ 5 ราย สะสม 5 ราย
4. Cluster ค้นหาเชิงรุกประมงพื้นบ้าน สะพานคณาศรีนุวัติ อำเภอสัตหีบ 4 ราย สะสม 54 ราย
5. Cluster บริษัท RMS ไซด์งานโรงไฟฟ้า บี.กริม เพาเวอร์ แหลมฉบัง อำเภอศรีราชา 4 ราย สะสม 13 ราย
6. สถานประกอบการในจังหวัดระยองหลายแห่ง 24 ราย
7. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 19 ราย
8. บุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย
9. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด
9.1 จังหวัดระยอง 2 ราย
9.2 กรุงเทพมหานคร 1 ราย
9.3 จังหวัดอุดรธานี 1 ราย
10. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
10.1 ในครอบครัว 169 ราย
10.2 จากสถานที่ทำงาน 104 ราย
10.3 บุคคลใกล้ชิด 25 ราย
10.4 ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย
11. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 23 ราย
12. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 86 ราย
การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิท
ขณะนี้มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในสถานประกอบการ 79 แห่ง และตลาด 5 แห่ง แคมป์คนงานก่อสร้าง 10 แห่ง และชุมชน 4 แห่งขอความร่วมมือ ตลาดดังนี้
1. ผู้ค้าหรือลูกจ้าง ไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ค้าหรือลูกจ้างร้านอื่น ๆ ไม่ทานอาหารใกล้ชิดด้วย
2. ไม่สังสรรค์
3. ป่วยต้องหยุด
4. ทำความสะอาดห้องน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วม หลังออกจากห้องน้ำต้องล้างมือทุกครั้ง ไม่ใช้มือจับหน้าโดยไม่ล้างมือ
5. ใส่แมสก์ตลอดเวลา
6. เมื่อมีผู้ติดเชื้อในตลาด หากมีการตรวจเชิงรุก ขอให้รับการตรวจเชิงรุกทุกคน
7. เมื่อมีการปิดตลาด ขอความร่วมมือผู้สัมผัส หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้หยุดอยู่บ้าน
8. ไม่รับแรงงานต่างด้าวจากพื้นที่เสี่ยง
ผู้เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 4 รายของวันนี้ มีอายุเฉลี่ย 65 ปี ซึ่งทุกรายเป็นผู้สูงอายุ สัมผัสในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือการมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง วัณโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง หอบหืด หัวใจ และทุกรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น
และขอความร่วมมือในสถานประกอบ มาตรการดังนี้
1. ไม่สังสรรค์ ไม่ตั้งวงดื่มเหล้า
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
สถานที่พักพนักงานสถานประกอบการ อาจจะเป็นที่หอพักที่สถานประกอบการหาให้ หรือหอพักที่ไปเช่าอยู่เอง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพนักงานหลายๆบริษัทอยู่ปะปนกัน ซึ่งจะเป็นแหล่งกระจายเชื้อข้ามบริษัท เมื่อเริ่มมีกระระบาดในบริษัท ขอความร่วมมือพนักงานบริษัทเคร่งครัดในมาตรการส่วนบุคคล อยู่ห่างกัน ไม่ข้ามไปคุยกันกับห้องพักห้องอื่น ไม่ทานข้าวร่วมกัน ไม่สังสรรค์ อสม. เจ้าหน้าที่ ประชาชน ช่วยกันสอดส่อง
ขณะนี้มีการระบาดในวงกว้างใน กทม. ปริมณฑล อาจมีผู้ติดเชื้อเดินทางเข้าชลบุรี รวมทั้งมีผู้ติดเชื้อในชลบุรี อาจยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อปะปนอยู่ในสังคม โดยที่เราไม่ทราบ จึงขอให้เคร่งครัดในมาตรการอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะสุขอนามัยส่วนบุคคล เชื้อเข้าทางจมูกปากตา ต้องไม่จับหน้าโดยไม่ล้างมืออย่างเด็ดขาด สวมแมสก์ตลอดเวลา
พยายามออกจากบ้านให้น้อยลง อยู่ห่างกัน ล้างมือบ่อยๆ
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ แม้การตรวจครั้งแรกจะไม่พบเชื้อ แต่มีหลายๆ รายตรวจพบเชื้อในครั้งที่ 2 ระหว่างการกักตัว 14 วันจังหวัดชลบุรีจะยังคงดำเนินการค้นหาผู้สัมผัส และค้นหาเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อนำมาตรวจหาเชื้อโควิด-19 และนำมารักษาไม่ให้แพร่ระบาดต่อไป.