เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



คณะแพทย์ฯ มช. แนะหญิงตั้งครรภ์รีบเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เผยผลวิจัยพบไม่มีผลต่อทารก


20 ส.ค. 2564, 14:44



คณะแพทย์ฯ มช. แนะหญิงตั้งครรภ์รีบเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เผยผลวิจัยพบไม่มีผลต่อทารก




วันนี้ ( 20 ส.ค.64 ) รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานคณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 เมษายน -14 สิงหาคม 2564 มีหญิงตั้งครรภ์ป่วยทั้งหมด 2,056 คน และเสียชีวิตไป 38 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป (อัตราการเสียชีวิตของประชาชนทั่วไป ร้อยละ 0.8) และมีทารกเสียชีวิต 23 คน ถึงแม้ว่าหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 เหมือนคนทั่วไป แต่จะมีอาการหนักได้มากกว่า โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และอื่นๆ ซึ่งหากหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนแต่มีการติดเชื้อขึ้นก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่างจากบุคคล และหลีกเสี่ยงการไปในสถานที่แออัด ยังคงต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 5 เดือนขึ้นไปและยังไม่ได้รับวัคซีน หรือยังได้รับไม่ครบ 2 เข็ม รวมทั้งการมีโรคประจำตัว ควรเปลี่ยนมาปฏิบัติงานที่บ้าน (work from home) โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูงหรืออยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สำหรับประสิทธิภาพของการได้รับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 และตามด้วยวัคซีน Astrazeneca เข็มที่ 2 ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นสูง โดยมีระยะเวลาการฉีดวัดซีนของเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน เพียง 3-4 สัปดาห์เท่านั้น ผลข้างเคียงของการได้รับวัคซีนโควิด-19 



ในด้านความปลอดภัย จากการวิจัยพบว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่มีผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์ ด้านประสิทธิภาพ พบว่าทำให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นได้ดีเหมือนกับคนทั่วไป แม้ว่าจะพบเชื้อกลายพันธุ์ ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคก็ยังคงมีอยู่

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ทุกคนพร้อมทั้งสามีหรือผู้ติดตาม ไปติดต่อรับวัคซีนโควิด-19 ที่คลินิกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่ตนเองฝากครรภ์โดยต้องมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ และไม่มีข้อห้าม เช่น เคยแพ้วัคซีนมาก่อน แนะนำให้ได้รับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 เร็วที่สุดเท่าที่จะบริหารจัดการได้ พร้อมทั้งนัดเข็มที่ 2 ได้แก่ AstraZeneca ใน 3-4 สัปดาห์ จากนั้นจะมีการติดตามผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.