"รอง ผวจ.ชุมพร" ลงพื้นที่ตรวจสอบศูนย์แยกโรคชุมชน ที่วิทยาลัยเกษตรฯชุมพร
10 ส.ค. 2564, 12:29
วันที่ 10 ส.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี่ชุมพร หมู่ที่ 8 ต.ตะโก อ.หลังสวน จ.ชุมพร นายสมพร ปัจฉิมเพชร รอง ผวจ.ชุมพร พร้อมด้วย นายบัญชา ธนูอินทร์ นอภ.ทุ่งตะโก นายวัชรินทร์ แจ้งใจเย็น สาธารณสุขอำเภอทุ่งตะโก นางสาวสุนารี บุญชุบ ปภ.ชุมพร นายนิพนธ์ ภู่พลับ ผอ.วิทยาลัยเกษตรฯ เดินทางไปตรวจสอบสถานที่การจัดตั้ง ci หรือ community isolation ศูนย์แยกโรคชุมชน
คณะทำงานได้เข้าตรวจสอบ ที่อาคารเรียนของวิทยาลัยเกษตรฯชุมพร ซึ่งเป็นอาคารสองชั้น ที่ใช้เป็นห้องเรียน พบว่า ภายในอาคารมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่ จัดตั้ง CI ทั้งความสะดวกในการปรับให้เป็นสถานที่พัก ของผู้กักตัว มีห้องน้ำ ความห่างไกลจากชุมชน แต่ต้องปรับให้เป็นสถานที่พักเพียงเล็กน้อย เช่น อุปกรณ์กันยุงแมลง เตียงนอน ก็จะสามารถใช้เป็นสถานที่พักได้อย่างเหมาะสม
นายสมพร ได้สั่งการให้ จนท.โยธาธิการจังหวัดชุมพร ดำเนินการไปตาม ขอบเขตของงบปะมาณที่ได้รับมอบหมาย ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จเร็วที่สุดเพื่อเป็นการรองรับ ปริมาณผู้ป่วยติดเชื้อท่กำลังต้องการเตียง ใน รพ.ต่างๆทั่วทั้ง จ.ชุมพร และมีปริมาณเพื่มขึ้นทุกวัน นายสมพรกล่าวว่า "ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีคัสเตอร์ใหญ่ๆเกิดขึ้นอีกหลายสถานที่ จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมการ คือ จ.ชุมพรมีระบบผู้ที่เป็นผู้ป่วยทุกคนจะต้องได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และก็จะมีการประเมินผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจากการประเมินพบว่าผู้ป่วยประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีอาการหรือบุคคลที่เป็นเขียวทั้งหมดเราจะผ่องถ่ายมา 2 ระบบ CI ในส่วนของอำเภอทุ่งตะโกสามารถที่จะรองรับผู้ป่วยได้ถึง 100 เตียง และจะเป็นผู้ป่วยจากทั่วทั้งจังหวัดทุกอำเภอ ซึ่งจะทำให้ทุกคนได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่ออยู่ในขั้นปลอดภัยแล้วและถ่ายไปยัง ระบบ CI ก็จะทำให้ผู้ที่มีอาการหนัก ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที มีห้องที่ใช้ในการดูแล ก็จะทำให้ลดการสูญเสียชีวิตลงได้
อยากให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดชุมพรเปิดใจให้กว้างถ้าครอบครัวใดหมอตรวจแล้วว่า ผู้ติดเชื้อมีอาการเล็กน้อย สามารถดูแลที่บ้านได้ ก็ควรจะรับกลับไปดูแลที่บ้าน แต่ทางสาธารณสุขไม่ได้ปล่อยปละละเลยซึ่งจะมีหมอเดินทางไป ดูแลอาการตลอดเวลาและขอความร่วมมือ จากพี่น้องในชุมชนอย่าได้ไปรังเกียจ บ้านที่นำผู้ที่ไม่มีอาการ กลับมาดูแลที่บ้านซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในชุมชนนั้น ถ้ามีมาตรการในครัวเรือนที่ถูกต้องและเคร่งครัดก็จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อได้และอยู่ร่วมกันในชุมชนนั้นได้ ซึ่งถ้ามีการขยายตัวของผู้ติดเชื้อ มากขึ้นก็จะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า SI หรือ Home isolation จะมีการดูแลของหมอทั้งระบบของ c i และ si หรือhi ก็จะยังมีการดูแลของสามห//มอคือ หมอจากโรงพยาบาลใหญ่ หมอจากรพ. สต.และก็พี่น้อง อสม. ที่จะดูแลให้ชาวบ้านปลอดภัยที่สุด”