เผยภาพ!! พิพิธภัณฑ์ขุนควร แหล่งรวบรวมผ้ายันต์โบราณล้านนา
8 ก.ย. 2563, 13:11
ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า วันที่ 8 กันยายน 2563 พิพิธภัณฑ์ขุนควร วัดธรรมิการาม ( วัดสบเกี๋ยง ) อำเภอปง จังหวัดพะเยา แห่งเดียวในประเทศ แหล่งสะสมผ้ายันต์โบราณล้านนา รวมทั้งรวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่ ยันต์ตระกุดต่างๆ พระพุทธรูปงาช้าง คัมภีร์ตำราล้านนาต่างๆ ที่ตัวอักษรเป็นตัวเมืองล้านนา กว่า 1,000 ชิ้น โดยมีอายุมากสุดกว่า 100 ปี ขึ้นไป เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนคนรุ่นหลังให้ได้มีอากาศได้ศึกษาเรียนรู้
ผ้ายันต์โบราณล้านนา หลากหลายรูปแบบทั้งยันต์ผ้า ยันต์ตอง ยันต์เตือน และพระพุทธรูปเก่าแก่ ตระกุดโบราณ ตลอดจนปั๊บสา คัมภีร์ต่างๆ ร่วม 1,000 ชิ้น ที่วัดธรรมิการาม (หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดสบเกี๋ยง) บ้านสบเกี๋ยง ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา ได้รวบรวมและจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองขุนควร ภายในกุฏิไม้ทรงไทย เพื่อเก็บรวบรวมผ้ายันต์ชนิดต่าง ๆ ของทางล้านนาภาคเหนือ ไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบถึงวัฒนธรรมของบรรพบุรุษได้สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
พระครูปลัด สุวัฒนจริยคุณ รักษาการเจ้าอาวาสวัดธรรมิการาม ( วัดสบเกี๋ยง ) อ. ปง จ.พะเยา ประธานเครื่อข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ เปิดเผยว่าได้เล็งเห็นอันตรายที่จะเกิดการสูญหายของผ้ายันต์ ซึ่งเป็นมรดกของชาติของชาวล้านนาโดยเฉพาะของทางภาคเหนือ จึงได้พยายามรวบรวมผ้ายันต์ จากแหล่งต่างๆ ทั้งในจังหวัดพะเยา และภาคเหนือทั้งหมด มาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองขุนควร ภายในวัดธรรมิการาม เพื่อเด็กเยาวชนรุ่นหลังๆ ได้เรียนรู้ศึกษาประวัติความเป็นมาของผ้ายันต์ ซึ่งเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่กำลังจะเริ่มสูญหายไปอย่างน่าเสียดายส่วนผ้ายันต์ที่เก็บรักษาไว้มีมากกว่า 300-400 ผืน โดยมีอายุต่ำสุดประมาณ 50-70 ปี และมากสุดมากกว่า 100 ปีขึ้นไป ประเภทของผ้ายันต์นั้นจะมีทั้งแบบผืนผ้าสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เล็ก เสื้อ กางเกง สำหรับผ้ายันต์มีหลายชนิดอาทิ ยันต์เมตตามหานิยม ยันต์มหาอำนาจ ยันต์ค้าขาย ยันต์มหาเสน่ห์ ยันต์โชคชะตา ยันต์อยู่ยงคงกะพัน ยันต์ป้องกันภัย ยันต์สารพัดนึก ยันต์ฝ่าต๊ะ (รูปมือหรือเท้าที่เอาทาบลงบนผ้า) ผ้ายันต์ที่พบส่วนใหญ่ทำจากผ้าดิบ ลวดลายอักษรภาษาคำเมืองหรือล้านนา เขียนด้วยหมึกสักและสีของพืชตามธรรมชาติ เช่น สีดำ แดง และเขียว ผ้าแต่ละผืนอยู่ในสภาพขาดวิ่นด้วยความเก่าแก่ โดยยันต์ที่ถือว่านอกจากนี้ภายในยังเก็บรวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่ ยันต์ตระกุดต่างๆ พระพุทธรูปงาช้าง คัมภีร์ตำราล้านนาต่างๆ ที่ตัวอักษรเป็นตัวเมืองล้านนา เพื่อเป็นแหล่งให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ในเรื่องวัฒนธรรมโบราณ