เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



“นิพนธ์” แจง ปมผลกระทบรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน ยัน กพอ. จัดรับฟังความเห็นชาวบ้านทั้ง3 จังหวัด พร้อมยกระดับระบบสาธารณูปโภค


10 ก.ค. 2563, 09:26



“นิพนธ์” แจง ปมผลกระทบรถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน ยัน กพอ. จัดรับฟังความเห็นชาวบ้านทั้ง3 จังหวัด พร้อมยกระดับระบบสาธารณูปโภค




เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สผ.) 416 อาคารรัฐสภา    นายนิพนธ์  บุญญามณี รมช.มท. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาเรื่อง "ผลกระทบจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และผลกระทบจากการดำเนินโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ICD) และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา"  และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้แทนจังหวัดชลบุรี ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมชี้แจง



นายนิพนธ์ ชี้แจงว่า กระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดทำผังเมืองโดยนำข้อมูลของผังเมืองที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาแล้วเป็นข้อมูลหลักในการทำแผนผังการใช้พื้นที่รวมของทั้ง 3 จังหวัด โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้กำหนดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง  โดยมีการจัดวางตำแหน่ง สถานประกอบการ และตำแหน่งการจัดวางระบบสาธารณูปการที่เหมาะสม และอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบกิจการ ให้ประชาชนในพื้นที่จะมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีวิถีชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ในประเด็นด้านการเตรียมความพร้อมในการรับมือ ป้องกัน และบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการรับมือป้องกัน และบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยอันอาจเกิดขึ้นจากโครงการต่าง ๆ ได้มีกำหนดมาตรการป้องกัน เช่น การควบคุมน้ำท่วม และการระบายน้ำ จัดให้มีแนวป้องกันน้ำฝน ระบบระบายน้ำ รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน  ส่วนด้านพื้นที่เสี่ยงในเรื่องของอัคคีภัย กรณีที่อาจเกิดการรั่วไหลของท่อก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ทั้งนี้ สำนักงาน ปภ.จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่  จัดทำแผนเผชิญเหตุ การเข้าระงับเหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รั่วไหล โดยได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติการเข้าระงับเหตุ การเผชิญเหตุตามระดับความรุนแรงของสาธารณภัย การบรรเทาทุกข์ และการสื่อสาร โทรคมนาคม และการติดต่อประสานงาน เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.