"เยาวชนจิตอาสา" ร่วมมือ ชาวสกลนคร สร้างฝายกักน้ำ เพื่อคืนชีวิตให้สัตว์ป่าและผืนป่า
25 ก.พ. 2563, 14:49
ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ที่บริเวณป่าแก่งหอย พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เขตบ้านนางเติ่ง ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ประชาชนชาวบ้านนางเติ่ง ร่วมกับ คณะจิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด, ศูนย์การเรียนรู้ไทเทิงภูผ้าย้อมคราม และคณะเยาวชนจิตอาสา จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตจังหวัดสกลนคร กว่า 100 คน ร่วมกันทำกิจกรรม สร้างฝายกักเก็บน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผืนป่า สร้างชีวิตให้สัตว์ป่า และเพื่อสร้างจุดท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยกิจกรรมดังกล่าว คณะจิตอาสาต้องใช้เวลาเดินทางด้วยรถอีแต๊ก กว่า 1 ชั่วโมง เรียกว่าป่าแก่งหอย ระยะทางกว่า 8 กม.โดยนั่งรถอีแต๊ก 5 กม.เดินเท้าต่ออีก 3 กม. เพื่อไปยังจุดที่จะสร้างฝายชะลอน้ำ
บริเวณป่าแก่งหอย เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะมีหอยขมจำนวนมาก และนอกจากนี้บริเวณดังกล่าว จะมีดอกกระเจียวขึ้นอยู่เป็นบริเวนกว้าง ชาวบ้านสามารถนำหอย และดอกกระเจียวนั้น ไปประกอบเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย แต่พอเมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำในลำห้วยแห่งนี้จะแห้งขอดและเกิดไฟไหม้ป่า ทำให้ถือเป็นพื้นที่แห้งแล้งอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเพื่อคืนธรรมชาติที่สดใสให้กลับมายังห้วยหอยแห่งนี้อีกครั้ง คณะจิตอาสาจึงได้รวมตัวกันเพื่อสร้างฝายชะลอน้ำ ซึ่งวัตถุดิบในการทำฝายครั้งนี้ได้ คณะจิตอาสา ชาย หญิง ได้กระจายกันไปเก็บเศษหิน ที่แตกจากฟื้นที่ใกล้เคียง มากองซ้อนๆกัน สูงประมาณ 1 เมตร เพื่อทำเป็นคันคู และจากนั้นน้ำปูนชิเมนเททับเพื่อกั้นน้ำ ซึ่งคาดว่าว่า ฝายแห่งนี้จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งคืนความชุ่มชื้น ในปีถัดไปได้อย่างแน่นอน
นาย ชื่นชัย บุญปก อายุ 41 ปี ผู้นำคณะจิตอาสาในการสร้างฝาย กล่าวว่า การสร้างฝายในครั้งนี้ ถือเป็นการปลูกต้นกล้าแห่งความดีงามในกลุ่มเยาวชน เพราะจิตอาสาที่มาช่วยกันทำฝายในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณในการจัดทำทั้งค่าน้ำ ค้าข้าวปลา อาหาร ได้จากการบริจาคจากผู้นำในหมู่บ้าน และกลุ่มท้อผ้าครามบ้านนางเติ่ง ไม่ได้ใช้งบจากหน่วยงานของภาครัฐแต่อย่างใด ซึ่งการก่อสร้างฝายแห่งนี้ ถือเป็นฝายที่ 14 ที่เราได้ช่วยกันก่อสร้าง ถึงแม้จะเหนื่อยบ้างแต่ก็รู้สึกภูมิใจ อนาคตที่แห่งนี้จะกลับมาสมบูรณ์ สัตว์ป่าจะได้อาศัยน้ำจากฝายแห่งนี้ดื่มกิน ชะลอน้ำเพื่อความชุ่มชื้นคืนความสดใสให้กับผืนป่า หรือแม้กระทั่งชุมชนก็จะได้อาศัยน้ำจากจุดนี้ดับไฟ หากเกิดไฟป่าในอนาคต ยืนยันว่าคนกับป่าได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน