เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



แม่น้ำโขงแห้งขอด ราวกับทะเลทราย รัฐบาลเตรียมตั้งศูนย์บัญชาการน้ำเฉพาะกิจ


5 ม.ค. 2563, 13:55



แม่น้ำโขงแห้งขอด ราวกับทะเลทราย รัฐบาลเตรียมตั้งศูนย์บัญชาการน้ำเฉพาะกิจ




 

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการโพสต์รูปภาพพร้อมทั้งระบุข้อความเอาไว้ว่า แม่น้ำโขงกำลังตาย ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นี่คือภาพชุดแรกที่เผยให้เห็นว่าน้ำโขงแห้งราวกับทะเลทรายและซากของสัตว์น้ำที่ถูกแดดแผดเผาเพราะหนีลงร่องน้ำลึกไม่ทัน ที่ถูกส่งมาถึงผมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ภาพชุดนี้ถ่ายโดย Bell Supattra In  ลูกศิษย์ที่อยู่ในสนาม และชาวบ้านกลุ่มรักษ์แม่น้ำโขง ถ่ายที่แม่น้ำโขงเขต ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคายวันที่น้ำโขงวิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เป็นวันเดียวกันกับที่เขื่อนไซยะบุรีได้ทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าหลังจากที่มีการกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อน 

หลังจากภาพชุดนี้ถูกเผยแพร่ออกไป มีสื่อทั้งในไทยทุกแขนงรวมทั้งสื่อโซเซียล และสื่อต่างประเทศ ได้เผยแพร่รายงานข่าวน้ำโขงวิกฤตอย่างต่อเนื่อง แม้นักสร้างเขื่อนระบุว่าน้ำโขงวิกฤตเพราะเอลนินโญ ไม่เกี่ยวกับเขื่อนไซซยะบุรี แต่หลังจากนั้นไม่นาน พายุก็เข้าอีสาน แต่น้ำโขงก็ยังแห้งกลางเดือนตุลาคม น้ำโขงก็วิกฤตรอบสอง และเกิดวิกฤตรอบสามตามมาในปลายเดือน เมื่อน้ำโขงเกิดภาวะไร้ตะกอนเปลี่ยนเป็นน้ำใสราวกระจก และสะท้อนท้องฟ้าเป็นสีคราม จนถึงวันนี้ น้ำโขงก็ยังผันผวนหนัก ขึ้นๆ ลงๆ ขณะที่นักสร้างเขื่อนก็ยังโหมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งซื้อสื่ออย่างกว้างขวางแก้ต่างว่าเขื่อนไซยะบุรีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผมจัดให้กรณีนี้เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่ในรอบปี ไม่ใช่รอบทศวรรษ ไม่ใช่รอบศตวรรษ แต่เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และผู้คนกว่า 70 ล้านคนได้รับผลกระทบนี้ และผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อไปอีกยาวนาน


 



 

 

 

 

 

ด้าน ศ.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับทราบมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบกรอบรายละเอียดโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้บัญชาการอำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ และกอง

บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ทำหน้าที่ประสานงานการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 มาตรา 24 เพื่ออำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำเป็นการชั่วคราวจนกว่าปัญหาวิกฤติน้ำจะพ้นไป ซึ่งแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ จะแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานออกเป็นกลุ่มอำนวยการ กลุ่มคาดการณ์ กลุ่มบริหารจัดการ และกลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปฏิบัติงาน

โดย นายกฯ กล่าวว่า วิกฤติภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นมีแนวโน้มรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมเพื่อรับมืออย่างเป็นระบบ เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต แต่ยังส่งผลถึงภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม โดยที่ผ่านมามีการดำเนินงานผ่านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขวิกฤติภัยแล้งปีนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันท่วงที ต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารวมถึงการวางแผนการใช้ทรัพยากรน้ำในระยะยาว ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่มีเป้าหมาย ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

ทั้งนี้ ในวันที่ 7 ม.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการน้ำเฉพาะกิจ และแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงบประมาณดำเนินการตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานดังกล่าวตามความจำเป็นต่อไป


 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua / Bell Supattra In 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.