เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กลุ่มจิตอาสาพิทักษ์วารี หวั่นปลาหมอคางดำทำลายระบบนิเวศป่าชายเลนทำสัตว์น้ำวัยอ่อนสูญพันธุ์


29 ก.ค. 2567, 13:56



กลุ่มจิตอาสาพิทักษ์วารี หวั่นปลาหมอคางดำทำลายระบบนิเวศป่าชายเลนทำสัตว์น้ำวัยอ่อนสูญพันธุ์




วันที่ 29 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีปลาหมอคางดำได้แพร่ระบาดกระจายไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ในพื้นที่หลายภาคของประเทศไทย ทำให้รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เนื่องจากปลาหมอคางดำเป็นปลาสายพันธุ์เอเลี่ยนสปีชีส์ เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่แทนปลาพื้นถิ่น ส่งผลกระทบให้ปลาพื้นถิ่นมีจำนวนลดน้อยลงเนื่องจากกินจุ และกินสัตว์น้ำวัยอ่อนขนาดเล็ก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบทางความมั่นคงด้านอาหารของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่

 

 

 



ล่าสุดกลุ่มจิตอาสาพิทักษ์วารี ได้พายเรือพาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจดูระบบนิเวศป่าชายเลนปากคลองบางนางรม บริเวณร่องน้ำป่าโกงกางและป่าแสม ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนบริเวณริมอ่าวประจวบ เช่น กุ้งขาว เคย ปูแสม และปลาอื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งจากการสำรวจพบว่าปริมาณสัตว์น้ำวัยอ่อนที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่มีจำนวนลดน้อยลงไปมาก กุ้งขาวที่ไหนอดีตชาวบ้านสามารถใช้มือจับ และใช้แห่ตาถี่ทอดดักจับมาเป็นอาหารได้ ปัจจุบันจะมองหาแต่ละตัวแสนยากลำบาก รวมไปถึงปลาอื่นๆก็หาดูยากเช่นกัน จากนั้นกลุ่มจิตอาสาและชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้แหทดลองเหวี่ยงทอดลงไปในคลองบริเวณสะพานบางนางรม และคลองบางนางรมด้านหลังโรงแรมโกเด้นท์บีช ก็พบว่าปลาที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลาหมอคางดำ และปลาหมอสีคางดำ

 

 

 


นายสุเทพ นาคทั่ง อายุ 57 ปี ประธานกลุ่มจิตอาสาพิทักษ์วารี เปิดเผยว่า ในอดีตป่าชายเลนปากคลองบางนางลมแห่งนี้ เคยมีสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆมากมาย เช่น กุ้งขาว มักจะชอบอาศัยอยู่กับลากไม้ของต้นโกงกางและแสม เวลาใช้ไฟฉายส่องจะเห็นเป็นตาสีแดงมากมาย แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว และปลาหมอคางดำ จะโผล่ให้เห็นจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มพบเห็นปลาหมอคางดำเข้ามาในพื้นที่ ตอนแรกก็นึกว่าเป็นปลาหมอเทศก็หลงดีใจเพราะว่ากินอร่อย แต่มาในระยะ 2 ปีหลังจะเห็นชัดเจนขึ้นพบว่าเป็นปลาหมอคางดำและมีจำนวนมาก มันกินทุกอย่าง เช่น แพลงตอน และสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะกุ้งตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ในอดีตเวลาทอดแหแต่ละครั้งจะได้ปลากะเมาะ และกุ้งขาวครั้งละจำนวนมาก ตอนนี้ไม่มีเลย เนื่องจากปลาหมอคางดำเข้ามาอยู่อาศัยกระจายเต็มพื้นที่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับคนที่มีความสามารถจับปลาแล้วรับซื้อหรือส่งเสริมให้ นำไปบริโภคเป็นอาหารทำเป็นเมนูต่างๆ เช่น แล่ทำเป็นปลาแดดเดียวก็จะอร่อยมาก

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.