รมว.ยธ.เปิด "มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม"
9 มิ.ย. 2567, 16:45
วันนี้ (9 มิ.ย.67) ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่ 11 และมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้ครัวเรือน ประจำปี 2567 โดยมีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนามคม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 1 นายพนม โพธิ์แก้ว สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 5
นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี สถาบันการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและบริหารสถาบันการเงิน ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายรณภพ เวียงสิมมา รอง ผวจ.กาญจนบุรี พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี นายแพทย์ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ นายก อบจ.กาญจนบุรี รวมทั้งภาครัฐต่างๆ และประชาชนที่เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินร่วม 1,000 คน เข้าร่วม
ทั้งนี้ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวภายหลังว่า การจัดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่11และมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้ครัวเรือนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 11 โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมบังคับคดี พร้อมด้วย สถาบันการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงินร่วมกันจัดขึ้น
เพื่อให้ประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้สิน ทั้งที่มีคดีก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคาพิพากษา ตลอดจนผู้ประสบปัญหาหนี้สินต่างๆ ได้รู้สิทธิตามกฎหมาย เข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นเกราะป้องกันปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยภายในงาน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และการสร้างการตระหนักรู้ เกี่ยวกับการวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน 2) การจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ ให้คาปรึกษาทางกฎหมายหรือการเงิน 3) การให้บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ปัจจุบัน หนี้สินครัวเรือน ถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่รัฐบาลถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ จากสถานการณ์ประเทศไทยที่กาลังเผชิญภาวะหนี้สินครัวเรือนที่สูงกว่าร้อยละ 90 ของ GDP ถือเป็นความเปราะบางของภาคประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากหนี้ที่สูง ย่อมส่งผลให้ครัวเรือนมีความสามารถในการใช้จ่ายและลงทุนต่ำ อีกทั้งหากลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ได้ พร้อมกันจานวนมาก อาจทาให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต
จากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น นโยบายแรกที่รัฐบาลได้เร่งดำเนินการ คือ แก้ไขปัญหานี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน โดยรัฐบาลจะลดภาระพี่น้องเกษตรกรด้วยการพักหนี้เกษตรกร ตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงิน สาหรับภาคประชาชนที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 ให้ได้มีโอกาสในการฟื้นฟูและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง
นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มอื่นๆ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน ในส่วนมิติของกระบวนการไกล่เกลี่ย คือ การสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การสร้างความปรองดอง การสร้างสันติภาพบนความขัดแย้ง
การจัดงานในวันนี้ จึงถือเป็นงานที่สร้างความยุติธรรมตามความเป็นจริง ตนอยากฝากข้อคิดเรื่องการไกล่เกลี่ยต้องไม่เอาเปรียบลูกหนี้ แต่สิ่งที่ต้องทำ คือ การสร้างความเป็นธรรม ความยุติธรรม และความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ลูกหนี้ต้องกลับคืนสู่สังคมด้วยความปกติ ด้วยการคืนศักดิ์ศรีให้ลูกหนี้ ในส่วนของการให้ความรู้ด้านกฎหมาย ถือเป็นการติดอาวุธให้กับประชาชนให้ได้รับความรู้ ไม่ต้องถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกรังแก มีศักดิ์ศรี ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป.............มีเสียงสัมภาษณ์ รมว.ยธ..................................
ด้านนางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า แม้ขณะนี้รายได้ครัวเรือน จะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยภาระหนี้ที่สูง ทำให้ประชาชนจำเป็นต้องนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปชำระหนี้ที่มีอยู่เดิมก่อน ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ครัวเรือน จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต
กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ เป็นหนึ่งในหลักการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนจะมี 3 หลักการ คือ ทำครบวงจร ทำให้ตรงจุด และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนให้เกิดการไกล่เกลี่ย ตาม พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยภาคประชาชน พ.ศ.2562 ผ่านการดำเนินงานของ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการเจรจาหารือกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาหนี้สินต่างๆ สามารถหลุดพ้นจากวงจรการเป็นหนี้ได้