คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
23 เม.ย. 2567, 16:44
วันนี้ (23 เม.ย. 67) ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุ มพร คณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาศึ กษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปั ญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิ ญโญ สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ประธานคณะกรรมาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เพื่อศึกษาดูงานและประชุมร่วมหั วหน้าส่วนราชการ เกี่ยวกับแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิ ญโญในพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยมีนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร, นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุ มพร, รวมประชุม พร้อมสรุปสถานการณ์ภัยแล้ งและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปั ญหาภัยแล้ง รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ ประสบภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุ มพร โดยในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งสะท้อนปัญหาและความต้ องการในแต่ละพื้นที่ ผ่านไปยังคณะกรรมาธิการฯ เพื่อเป็นข้อมู ลในการกำหนดนโยบาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปั ญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
โดยสถานการณ์ภัยแล้ งและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปั ญหาภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือผู้ ประสบภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุ มพร โดยพื้นที่ประสบภัยแล้ งและความเสียหาย ปี 2566 รวมจำนวน 8 อำเภอ 61 ตำบล 630 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 68,786 ครัวเรือน 145,198 คน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ ได้แก่ พืชสวน 151,900 ไร่ พืชไร่ 53,499 ไร่ พืชต้นทุนสูง 33,265 ไร่ บ่อปลา 12 บ่อ โค กระบือ 450 ตัว สุกร 1,400 ตัว โดยคาดว่าปี 2567 ในช่วงเดือนเมษายนจะมีพื้นที่ ประสบภัย จำนวน 7 อำเภอ 40 ตำบล 319 หมู่บ้าน 3 ชุมชน
สำหรับแนวทางและแผนการป้องกั นและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดชุ มพร มีการติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำในจังหวัดทุ กแหล่งน้ำทุกลุ่มน้ำ และปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำ ขนาดต่าง ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ที่อาจส่ งผลให้เกิดภัยแล้งในพื้นที่ หากเข้าสู่ภาวะวิกฤตให้แจ้งเตื อนประชาชน, มีการตั้งศูนย์บัญชาการเหตุ การณ์ภัยแล้งขึ้นในทุกระดับ และในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นให้ตั้งศูนย์ปฏิบัติ การในภาวะฉุกเฉิน ขึ้นทุกแห่งทั้ง 79 แห่ง ศูนย์ฯ, ให้อำเภอ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชน เพื่อรับทราบปั ญหาและหาแนวทางแก้ ไขการขาดแคลนน้ำ, มีการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้ องประชาชนกักเก็บน้ำ และใช้น้ำอย่างประหยัดในช่วงฤดู แล้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นและอำเภอร่วมดำเนินการในการจั ดทำฝายชะลอน้ำขนาดเล็กและการบริ หารจัดการน้ำ อย่าให้เกิดความขัดแย้งในการแย่ งชิงน้ำ พร้อมตรวจสอบภาชนะกักเก็บน้ำที่ มีอยู่ในพื้นที่หากมีการชำรุ ดไม่สามารถกับเก็บน้ำได้ก็ให้ ดำเนินการซ่อมแซม และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นทุกท้องถิ่นเตรียมการเรื่ องของถังน้ำกลางและจุดแจกจ่ายน้ำ กลางในแต่ละพื้นที่กรณีที่ต้ องแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริ โภค, จังหวัดชุมพรดำเนินการเตรี ยมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักรกลสาธารณภั ยของหน่วยงานราชการ ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเป็นชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ เร็ว เพื่อให้ความช่วยเหลื อประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งนี้ได้จัดทำบัญชี มอบหมายภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแต่ ละอำเภอเมื่อถึงขั้นวิกฤต, ให้อำเภอสำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ มีน้ำต้นทุนน้อย สำรวจแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคี ยงเพื่อสูบน้ำผันน้ำ มาเติมสำหรับแจกจ่ายให้กั บประชาชนที่เดือดร้อน, การขอสนับสนุนฝนหลวง ผ่านการประชุมคณะกรรมการศูนย์ติ ดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้ านการเกษตรจังหวัดชุมพร เพื่อวางแผนกำหนดพื้นที่เป้ าหมายในการช่วยเหลือและพิ จารณาความรุนแรงของภัยพิบัติ ในพื้นที่นั้นอีกด้วย//ประสิทธิ์ ฬหคุณากร/ชุมพร
คำที่เกี่ยวข้อง : #ชุมพร คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ