นายด่านศุลกากรสังขละบุรี เตรียมความพร้อมของขวัญปีใหม่ ให้ผู้ประกอบการยางพาราผ่านแดน
27 ธ.ค. 2566, 20:19
จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานปัญหาการสักลอบนำยางพาราเข้ามาในราชอาณาจักรใน พื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ของคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการขายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ นำโดย นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการ เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566ที่อาคารรัฐสภา ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรมวิชาการเกษตรหรือไม่ เพียงใด ประกอบด้วย ยางแผ่นรมควัน (RSS) ยางเครพ (CREPE) ยางแผ่นดิบ (USS) ยางแท่ง STR 20
มีหนังสือจากผู้ประกอบการสอบถามวิธีการปฏิบัติ การขออนุญาตนำผ่านยางแผ่นดิบ (USS) ยางแผ่นรมควัน (RSS) จากเมียนมา ผ่านประเทศไทยเพื่อไปยังประเทศที่สาม บรรจุสินค้า ควบคุมการขนย้ายโดยมัดลวดประทับตราตะกั่ว กรมศุลกากร จะต้องขออนุญาตหรือไม่ และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกรมวิชาการเกษตร อย่างไร ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยกองการยาง และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรได้ตอบข้อหารือสรุปเป็น 2ประเด็น ดังนี้
พ.ร.บ. ควบคุมยาง 2552 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำผ่านซึ่งสินค้าผ่านแคน ดังนั้น การนำสินค้ายางพาราผ่านแดน จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตรตาม พ.ร.บ. ควบคุมยาง ฯ
ส่วนหนึ่งส่วนใดของพีชตระกูลซีเวีย และพาหะ ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อน ยางเน่า และ ขี้ยาง เป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ.2507 การนำผ่านซึ่งสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า ต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพีช และต้อง ได้รับอนุญาตจากอริบดีกรมวิชาการเกษตร
กรณี ยางแผ่นดิบ (USS) ยางแผ่นรมควัน (RSS) ได้ผ่านกระบวนการผลิตมีลักษณะเป็นแผ่น มิได้มีสภาพเป็นพืช และเปลี่ยนสภาพไปจากลักษณะการเป็นพืช นอกจากนี้ได้ผ่านกระบวนการที่อาจเชื่อได้ว่าไม่มีการเข้าทำลายของศัตรูพืช และผลิตภัณฑ์ตังกล่าว ไม่มีส่วนที่ยังคงลักษณะเป็นพืชให้เห็น สินค้าดังกล่าวจึงไม่อยู่ในข่ายการควบคุมของ พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507
ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ณ ห้องราชสีห์ ที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี นายอิศเรศ รุ่งเรืองชนบท นายด่านศุลกากรสังขละบุรี นายปัญญา นามสง่า ผู้อำนวยการส่วนบริการด่านศุลกากรสังขละบุรี พ.อ.สุรเดช เมฆนุวงศ์ รอง ผบ. หน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า นายณัฐพัชร์ งามศิริโรจน์ ปลัดศูนย์ดำรงธรรมอำเภอสังขละบุรี ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรด่านสังขละบุรี ร่วมประชุมทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมเปิดให้บริการยางพารทรานสิทธิ์ผ่านแดน วันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นไปด้วยดี
สรุปยางพาราที่นำผ่านแดนได้มียางแผ่นดิบ ยางแผ่นควัน 2 ชนิดนี้เท่านั้น ยางพาราส่งกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยเด็ดขาด ให้ขนถ่ายยางพาราผ่านแดนวันละ 30 คันรถ หลังจากนี้ทางกรมศุลกากรจะหารือกับกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง